ความเป็นมาเกี่ยวกับโครงการ
พ.ศ. 2562
"ปีแห่งนวัตกรรมเพื่อสังคม หรือ Social Innovation"
นวัตกรรมเพื่อสังคม หรือ Social Innovation สามารถนำไปช่วยลดความเหลื่อมล้ำของคนในเมือง ยกระดับคุณภาพชีวิตและดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น ช่วยให้การใช้ชีวิตในสังคมเมืองมีความสุขขึ้น รวมถึงลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการขยายตัวของเมือง โดยแนวคิด “Social Innovation in the City” เพื่อสื่อถึงการเกิดขึ้นของสังคมเมืองในปัจจุบันและการขยายตัวของเมืองในพื้นที่ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมตามมามากมาย ซึ่งได้นำเสนอนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ช่วยแก้ปัญหาด้านสังคมต่างๆ ที่เกิดจากการขยายตัวของเมือง…ใจกลางกรุงเทพฯ แสดงถึงนวัตกรรมที่สร้างสรรค์เพื่อสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ที่มีความหลากหลายมากที่สุดที่รวบรวมผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตของทุกคนที่อยู่ร่วมกันในสังคมในงานเดียว ตั้งแต่เด็ก วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส
พ.ศ. 2561
"ปีแห่งการทูตนวัตกรรม หรือ Innovation Diplomacy"
พ.ศ. 2560
"ปีแห่งนวัตกรรม 360 องศา (Innovation 360)"
พ.ศ. 2560
"ปีแห่งนวัตกรรม 360 องศา (Innovation 360)"
พ.ศ. 2559
“ปีแห่งการส่งเสริมสตาร์ทอัพ”
พ.ศ. 2558
“ปีแห่งการวิศวนวัตกรรม (Innovationeering)”
พ.ศ. 2557
“ปีแห่งการเผยแพร่นวัตกรรมสู่สากล”
พ.ศ. 2556
“ปีแห่งการสร้างธุรกิจนวัตกรรมสู่ AEC”
พ.ศ. 2555
“ปีแห่งการก้าวสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”
พ.ศ. 2554
“ปีแห่งการยกระดับยุทธศาสตร์นวัตกรรม”
พ.ศ. 2553
“ปีแห่งการสร้างอุตสาหกรรมใหม่”
พ.ศ. 2552
“ปีแห่งการพัฒนานวัตกรรมระบบเปิด”
พ.ศ. 2551
“ปีแห่งการร่วมรังสรรค์นวัตกรรม”
พ.ศ. 2550
“ปีแห่งการสร้างระบบนวัตกรรม”
พ.ศ. 2549
“ปีแห่งการสร้างหุ้นส่วนและเครือข่ายนวัตกรรม”
พ.ศ. 2548
“ปีแห่งการส่งเสริมวัฒนธรรมนวัตกรรม”
พ.ศ. 2547
“ปีแห่งการสร้างระบบการสนับสนุนโครงการนวัตกรรม”
ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2546 อนุมัติการจัดตั้ง “สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)”
ขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากข้อมูล นำไปสู่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และการตัดสินใจเชิงนโยบายบนฐานของข้อมูล (Data-driven Decision Making) โดยมีเป้าหมายหลัก คือ สร้างเครื่องมือนวัตกรรมที่มีประสิทธิ
ภาพในการวิเคราะห์และประเมินระบบนวัตกรรม , พัฒนากลไกการสนับสนุนที่ได้รับการพัฒนาให้ครอบคลุมและทันสมัย
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ.2552
ต่อมาได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง “สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) [สนช.]”
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2552 จึงทำให้ สนช. มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบขององค์กรไปสู่การ เป็นองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน
โดยมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลเต็มตัว และมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอย่างชัดเจน โดย สนช. ได้สร้างแนวทางในการดำเนินงานเพื่อ พัฒนาโครงการนวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ
โดยมีเป้าหมายในการเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) เป็นห่วงโซ่มูลค่า (value chain) บนฐานความได้เปรียบในการแข่งขันของประเทศ
สนช. ตระหนักเป็นอย่างดีว่า ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ “นวัตกรรม” เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธร รมประกอบด้วยปัจจัยด้านความเป็นผู้ประกอบการ
และปัจจัยด้านความคิดสร้างสรรค์ รวมถึง องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนั้น สนช. กำหนดแนวทางการพัฒนานวัต กรรมแบบเปิด (Open Innovation)
โดยการนำองค์ความรู้จากหน่วยงานวิชาการทั้งหมดทั้งใน และต่างประเทศมาประยุกต์ใช้และได้ร่วมมือกับภาคเอกชนทั้งในระดับส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผ่านเครือข่ายธุรกิจนวัตกรรม
เพื่อการรังสรรค์นวัตกรรมที่เหมาะสมและมีศักยภาพต่ออุตสาห กรรมของประเทศ โดย สนช. ได้มีการพิจารณาทบทวนแผนการดำเนินงานที่วางไว้อย่างสม่ำ
เสมอเพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยกำหนดกลยุทธ์ การดำเนินงานในแต่ละปี ดังนี้